10/06/2557
กลุ่มยารักษาหูด
กลุ่มยารักษาหูด
กะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.
ชื่อสามัญ : Holy basil, Sacred Basil
วงศ์ : Lamiaceae (Labiatae)
ชื่ออื่น : กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
สรรพคุณ :
ใช้ใบสดของกะเพรา ถ้าเป็นกะเพราแดงจะมีฤทธิ์แรงยิ่งขึ้น ขยี้ทาตรงหัวหูด เช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด
สารเคมี :
ใบ มี Apigenin, Citric acid, Fumric acid , Luteolin, Tartaric acid, Ursolic acid, Malic acid
กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
โด่ไม่รู้ล้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephantopus scaber L.
ชื่อสามัญ : Prickly-leaved elephant's foot
วงศ์ : Asteraceae
ชื่ออื่น : หนาดผา เคยโป้ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าปราบ หญ้าสามสิบสองหาบ หญ้าไฟนกคุ้ม (ภาคเหนือ) ตะชีโกวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขี้ไฟนกคุ่ม (เลย) คิงไฟนกคุ่ม (ชัยภูมิ) หนาดมีแคลน (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงสั้นอยู่ในระดับพื้นผิวดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนกันแน่นที่โคนต้น รูปขอบขนาน กว้าง 2-6 ซม.ยาว 10-25 ซม. ปลายใบและโคนใบมน แผ่นใบมีขนสากมือ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบสีขาวหนา ดอก ออกเป็นช่อแบบแขนงที่ปลายยอด มีใบประดับ 2 ใบ ดอกสีม่วง กลีบดอกเรียวยาว ปลายกลีบดอกแหลม โคนเชื่อมติดกัน ก้านช่อดอกเหนี่ยวเมื่อโดนเหยียบก้านช่อดอกจะตั้งขึ้นมาใหม่เหมือนเดิม เกสรเพศผู้เป็นเส้นตรงมีอับเรณูสีม่วง ผล รูปทรงกลม มีสัน 10 สัน ผิวมีขนนุ่มปกคลุม
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด
สรรพคุณ :
มีรสขื่น แก้ปัสสาวะ และบำรุงความกำหนัด มีรสกร่อย จืด ขื่นเล็กน้อย รับประทานทำให้เกิดกษัยแต่มีกำลัง ทั้งต้นต้มรับประทานต่างน้ำ แก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาเลเรียดี ใช้ต้มรับประทานแก้ไอ สำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ บางตำรากล่าวว่า แก้กษัย บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับไส้เดือน แก้กามโรค แก้อักเสบ ห้ามเลือดกำเดา แก้ดีซ่าน นิ่ว บิด เหน็บชา ท้องมาน ฝีฝักบัว
ข้อห้ามใช้ :
ห้ามใช้ในผู้หญิงท้อง และผู้ที่อาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ไม่กระหายน้ำ ชอบดื่มของร้อน ปวดท้อง ท้องร่วง ปัสสาวะและปริมาณมาก มีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา
มะยมรักษาโรคผิวหนัง
กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน
มะยม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อสามัญ : Star Gooseberry
วงศ์ : Euphorbiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้
สรรพคุณ :
ใบตัวผู้ - แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้
ผลตัวเมีย - ใช้เป็นอาหารรับประทาน
รากตัวผู้ - แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม
สารเคมี
ผล มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C
ราก มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid
สูตรน้ำกระชายเพื่อสุขภาพ
สูตร 1 กระชายปั่นน้ำผึ้งมะนาว
12 มิถุนายน 2011 เวลา 18:34 น.
น้ำกระชายปั่นกับน้ำผึ้งผสมน้ำมะนาว
เครื่องปรุง
กระชาย 1 ขีด
น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
มะนาว 2 ลูก
วิธีทำ
กระชายล้างน้ำให้สะอาดปั่นให้ละเอียด เติมน้ำสะอาดลงไป 2 แก้ว
กรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำผึ้งและน้ำมะนาวลงไปผสมปรุงรสตามใจชอบดื่มได้เลย
สรรพคุณ
-บำรุงกระดูก
-บำรุงสมองเพราะทำให้เลือดเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีขึ้น
-ปรับสมดุลของฮอร์โมน
-ปรับสมดุลของความดันโลหิต(ความดันโลหิตที่สูงจะลดลงความดันโลหิตที่ต่ำจะ สูงขึ้น)
-แก้โรคไต ทำให้ไตทำงานดีขึ้น
-ป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ
-บำรุงมดลูก
-แก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วง
-อาการกระเพาะปัสสาวะเกร็ง (กรณีนี้อาจใช้เม็ดบัวต้มกิน)
-ควบคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต
-แก้ปัญหาไส้เลื่อน
สูตร 2 น้ำกระชายปั่น...เพื่อสุขภาพ...ดืมทุกวัน..เช้า-เย็น.(ยาอายุวัฒนะ..)
ดืมน้ำสมุนไพรไทย..(กระชายเหลืองปั่น..เพื่อสุขภาพกันดี กว่าครับ...)
แจกน้ำกระชายปั่น เพื่อสุขภาพ
*เครื่องปรุง ( สูตรต่อ 1 คน )
กระชาย 3 แง่ง กับ 1 กระเปาะ
น้ำตาลอ้อย 1 ช้อนโต๊ะ ( น้ำตาลทรายแดง ,น้ำอ้อย)
มะนาว 1 ลูก
โหระพา 20 ใบ ( สร้างเม็ดเลือด )
น้ำเปล่าสะอาด 1 แก้ว
วิธีทำ
- กระชาย +โหระพา ล้างน้ำให้สะอาด ปั่นให้ละเอียด
- เติมน้ำสะอาดลงไป 1 แก้ว กรองเอาแต่น้ำ ( ไม่เอากาก )
- ใส่น้ำตาลอ้อยและน้ำมะนาวลงไปผสม
- ปรุงรสตามใจชอบ (ดื่มแบบจิบๆ ดื่มได้ทั้งวัน )
สรรพคุณ
* บำรุงกระดูก (เพราะมีแคลเซียมสูง)
* บำรุงสมอง(เลือดเลี้ยงสมองส่วนกลางดีขึ้น)
* ปรับสมดุลของความดันโลหิต ( ความดันโลหิตที่สูงจะลดลง ความดันโลหิตที่ต่ำจะสูงขึ้น)
* ปรับสมดุลของฮอร์โมน
* แก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วง
* แก้โรคไต : ทำให้ไตทำงานดีขึ้น
* ป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ
* บำรุงมดลูก ( เพศหญิง )
* ควบคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ( เพศชาย )
* แก้ปัญหาไส้เลื่อน ( เพศชาย )
* กระเพาะปัสสาวะเกร็ง ( กรณีนี้อาจใช้เม็ดบัวที่ต้มแล้ว นำมา
รับประทานร่วมกัน)
9/03/2557
4/21/2557
ระบบสารสนเทศ
ความหมายระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) [1] เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การประมวลผล (processing) เผยแพร่ (output) และมีส่วนจัดเก็บข้อมูล (storage) องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, มนุษย์, กระบวนการ, ข้อมูล, เครือข่าย ระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย
- ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
- สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
- การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ
ระบบสารสนเทศและ MIS (IS) – หรือการประยุกต์ใช้ภูมิทัศน์ [2] - คือการรวมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) และกิจกรรมของผู้คนว่าด้วยการดำเนินการให้ความช่วยเหลือใด ๆ, การทำการจัดการและการตัดสินใจ [3] ในความหมายที่กว้างมาก, ระบบสารสนเทศเป็นคำที่ใช้บ่อยในการอ้างถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน กระบวนการข้อมูลและเทคโนโลยี ในแง่นี้คำที่ใช้ในการอ้างอิงไม่เพียงแต่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่องค์กรจะใช้เท่านั้น, แต่ยังรวมถึงวิธีที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีนี้ในการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ [4] บางสิ่งบางอย่างสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างระบบสารสนเทศ ,ระบบคอมพิวเตอร์ ,และกระบวนการทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศมักจะรวมถึงองค์ประกอบของ ICT แต่ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอย่างหมดจดกับ ICT เสียทีเดียว
ระบบสารสนเทศ (Information Systems) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง อาจหมายถึงระบบที่ดำเนินการจัดการข้อมูลข่าวสารในองค์กรให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นระบบระเบียบโดยไม่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในที่นี้จะหมายถึงระบบที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้มาเพื่อสารสนเทศเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้องที่สุด ดังนั้นระบบสารสนเทศในที่นี้จึงประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ผู้ใช้ กระบวนการ และตัว ข้อมูลหรือสารสนเทศโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสามารถตรวจสอบและประเมินผลระบบได้ (ดังรูปที่ 1)
รูปที่1 การสร้างระบบสารสนเทศ
อธิบายได้ดังนี้คือ เมื่อมีข้อมูลข่าวสารที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการบริหารจัดการ องค์กรสามารถสร้างระบบสารสนเทศในระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการกับ ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลหรือ web base มีฮาร์ดแวร์ที่ทำงานสัมพันธ์กับซอฟต์แวร์ เกิดกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจากการทำงานประสานกันของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล (ข่าวสาร) โดยมีบุคลากรทางวิชาชีพ เช่น นักคอมพิวเตอร์ นักบริหารฐานข้อมูล หรือนักเขียนโปรแกรม รวมทั้งนักวิเคราะห์และนักออกแบบระบบเป็นผู้ดำเนินงานตามที่ผู้ใช้ (หรือ ผู้บริหาร) ต้องการ จึงทำให้เกิดสิ่งที่เรารู้จักกันในนามของ “ระบบสารสนเทศ” ดังนั้นเมื่อมีระบบ สารสนเทศแล้ว องค์กรหรือธุรกิจจะสามารถได้รับประโยชน์หลัก 2 ประการ ดังนี้
1. สามารถประมวลผลสารสนเทศในลักษณะต่างๆ เช่น เป็นการประมวลผลระบบสารสนเทศเพื่อให้ได้ผลลัพธ์นำมาใช้เฉพาะด้านเฉพาะส่วนหรือสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของทั้งองค์กร ยกตัวอย่างเช่น บริษัทขายหนังสือ (ทั้งขายหน้าร้านและตามสั่ง) ย่อมต้องมีข้อมูลการสั่งซื้อ สินค้าจากลูกค้า กรณีที่มีลูกค้าและรายการสินค้าที่สั่งซื้อจำนวนมาก บริษัทจะต้องติดต่อผู้ผลิตหลายราย ข้อมูลอาจสับสนหากไม่มีระบบการสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลลูกค้า ก็จะสามารถตรวจสอบ วัน เดือน ปี ที่สั่งซื้อสินค้า จำนวนสินค้าแต่ละรายการ สำนักพิมพ์หรือ ผู้ผลิตสินค้า (ที่แตกต่างกัน) ราคา การตรวจสอบสินค้าที่มีอยู่ในร้านบางส่วน การจัดส่ง การชำระเงิน การตรวจสอบรายการสินค้ากับลูกค้า ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และเมื่อบริษัทมีข้อมูลที่ถูกต้องจะสามารถป้องกันการรั่วไหลของผลกำไรได้
2. ผู้บริหารสามารถใช้ผลผลลัพธ์ของระบบหรือสารสนเทศจากระบบไปประกอบการ ตัดสินใจภายในหน่วยงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำรายงานสรุปเสนอผู้บริหารระดับสูงเพื่อผู้บริหารระดับสูงสสามารถนำไปพิจารณาประกอบการวางแผนธุรกิจในอนาคตต่อไป
สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ จำเป็นต้องมีระบบข้อมูลหรือระบบฐานข้อมูลที่จัดเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และการเข้าถึงระบบข้อมูลนี้อาจจัดการให้อยู่ในรูปของระบบผู้ใช้คนเดียว (เช่น PC – based system) หรือระบบเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN) หรือระบบหลากผู้ใช้ที่มีคอมพิวเตอร์ระดับ เมนเฟรมเป็นแม่ข่าย ตลอดจนระบบเครือข่ายแบบ client/server system ที่ผู้ใช้ขององค์กรกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ แต่สามารถแลกเปลี่ยนและเข้าถึงสารสนเทศซึ่งกันและกันได้
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)
1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น
2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร
3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management – level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก
5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด
สุชาดา กีระนันทน์ (2541)และ Laudon & Laudon (2001) ได้แบ่งประเภทของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน/ผู้บริหารระดับต่างๆไว้ ดังนี้
ประเภทของระบบสารสนเทศ
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
|
ประเภทของระบบสารสนเทศ
(Laudon & Laudon, 2001)
|
1. ระบบประมวลผลรายการ(Transaction Processing Systems) | 1. Transaction Processing System – TPS |
2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Automation Systems) | 2. Knowledge Work -KWS and officeSystems |
3. ระบบงานสร้างความรู้(Knowledge Work Systems) | |
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information Systems) | 3. Management Information Systems – MIS |
5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems) | 4. Decision Support Systems – DSS |
6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง(Executive Information Systems) | 5. Executive Support System – ESS |
1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems – TPS) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น
2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS) เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร กำหนดการ สิ่งพิมพ์
3. ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems – KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน
บุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการควบคุม ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ
5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์
6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System – EIS) เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์
ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภท แต่องค์ประกอบที่จำเป็นของระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่ Laudon & Laudon (2001)ได้กล่าวไว้ คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล
สุชาดา กีระนันทน์ (2541) สรุปไว้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรนั้นเป็นสิ่งท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างมาก การที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในหน่วยงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบ ต้องร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพราะการนำระบบสารสนเทศมาใช้อาจจะกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นอยู่ หรืออาจจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
เอกสารอ้างอิง
สุชาดา กีระนันทน์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
CIS 105 – Survey of Computer Information Systems. (n.d.). Essential Concepts and
Terminology – Study Unit 13. Information system. Retrieved September 8, 2005
from http://www.jqjacobs.net/edu/cis105/concepts/CIS105_concepts_13.html
FAO Corporate Document Repository. (1998). Information system. Guidelines for the
Routine Collection of Capture Fishery Data. Annex 5 Glossary. Retrieved September
8, 2005 from http://www.fao.org/documents/show_cdr.asp?url_file=/
DOCREP/003/X2465E/x2465e0h.htm
Information system. (2005). Retrieved September 8, 2005 from
http://en.wikipedia.org/wiki/Information_system
Laudon, K.C. & Laudon, J. P. (2001). Essentials of management information systems:
Organization and technology in the enterprise. 4th ed. Upper Saddle River, NJ:
Prentice Hall.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)